สินเชื่อฟื้นฟูอีกหนึ่งมาตรการฝ่าวิกฤตโควิด-19 2567/2024
สำหรับช่วงปี 2563 ถึง 2567 นี้จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายละรอกที่เผชิญมาอย่างหนักหน่วง ทำให้กิจการหรือผู้ประกอบการธุรกิจประเภท SMEs ต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนัก ที่ไม่สามารถให้บริการหรือกลับมาประกอบการได้อย่างปกติ ส่งผลให้เกิดสภาวะการเลิกจ้าง ผู้คนตกงาน ภาคธุรกิจต้องหยุดชะงักจนเป็นเหตุให้หลายๆสถานประกอบการต้องปิดตัวลง บ้างต้องยุติการให้บริการ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงเล็งเห็นภาระอันหนักหน่วงที่ภาคธุรกิจเอกชนต้องแบกรับ จึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือในชื่อว่า “โครงการสินเชื่อฟื้นฟู” เพื่อประคับประครองความเป็นอยู่ของภาคธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ ทั้งนี้โครงการสินเชื่อฟื้นฟู หรือที่เรียกสั้นๆว่า “สินเชื่อฟื้นฟู” จะเป็นการให้ธนาคารทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหรือรวมทั้งสถาบันการเงินการเงินต่าง ๆ ที่ต้องการจะเข้าร่วมมาทำการกู้เงิน และนำเงินเหล่านี้ช่วยเหลือภาคธุรกิจในระดับต่อไป ทั้งนี้การออกมาตราการสินเชื่อฟื้นฟูนี้ยังคาดว่าจะสามารถช่วยบรรเทาให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินกิจการไปได้อย่างราบรื่นท่ามกลางการระบาดอย่างหนักนี้อีกด้วย
สินเชื่อฟื้นฟูช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไร?
การออกมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ธปท นี้จะเป็นการประคับประคองธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ให้ยังคงสภาพและสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ในระยะที่ยังไม่สามารถกลับมาให้บริการได้ตามปกติ ทั้งนี้รวมถึงการว่าจ้างพนักงานหรือการคงสภาพของธุรกิจให้ดำเนินกินการต่อในระดับเหมาะสม แต่ไม่สามารถนำสินเชื่อฟื้นฟูดังกล่าวมาใช้ชำระหนี้ที่ทางธุรกิจค้างอยู่ได้
ในแง่การสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฟื้นฟู สามารถเข้าร่วมได้กับสภาบันการเงินชั้นนำในไทย อาทิเช่น โครงการสินเชื่อฟื้นฟูกสิกร, สินเชื่อฟื้นฟูออมสิน และสินเชื่อฟื้นฟูกรุงไทย นอกจากนี้ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆก็ได้เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก หากท่านใจสนใจเข้าร่วมก็สามารถลงทะเบียนผ่านช่องออนไลน์ได้ (เฉพาะบางธนาคารเท่านั้น) หรือติดต่อกับธนาคารสาขาที่ท่านได้เป็นลูกค้าสินเชื่ออยู่
รายละเอียดสำคัญสินเชื่อฟื้นฟูมีอะไรไรบ้าง
ในส่วนของรายละเอียดของสินเชื่อฟื้นฟู เรามาดูกันว่าจะมีรายละเอียดที่สำคัญอย่างไรบ้าง
คณสมบัติ : ผู้ที่จะสามารถขอสินเชื่อได้จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติผู้ประกอบการตามที่กำหนดได้แก่ จะต้องเป็นผู้ที่มีสถานประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้แต่ต้องมีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องให้กับกิจการ และสามารถเป็นได้ทั้งลูกหนี้เดิมและลุกหนี้ใหม่ หากเป็นกรณีลูกหนี้ใหม่จะต้องมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินเดิมไม่เกิน 500 ล้านบาท
วงเงินสินเชื่อ : สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกรณี คือ กรณีลูกหนี้เดิมสามารถกู้ได้เพียงไม่เกินร้อยละ 30 จากวงเงินแต่ละสถาบันการเงินในแต่ละที่ (และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูรวมกันทุกสถาบันการเงินต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท)
ดอกเบี้ยสินเชื่อและระยะเวลา : ดอกเบี้ยของสินเชื่อฟื้นฟูจะมีระยะเวลาในการกู้ยืม 5 ปี โดยใน 2 ปีแรกกำหนดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี และหลังจากปีที่ 2 เป็นต้น ธนาคารจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามคุณสมบัติและความสามารถในการชำระหนี้ตามแต่ละกรณี